วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นิวรณ์ ๕ หมายถึง

นิวรณ์  แปลว่า เครื่องกั้น เครื่องขัดขวาง สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิต สิ่งที่กีดขวางการทำงานของจิต สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดีหรืออกุศลธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองและทำปัญญา
ให้อ่อนกำลัง เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจหรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ธรรม 5 ประการนี้เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษูุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน นิวรณ์ 5 ได้แก่
          1. กามฉันท์  ความอยากได้อยากเอา ในรูป รส กลิ่น โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ ติดใจโน่นนี่ ขุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบ ไม่อาจเป็นสมาธิได้
          2. พยาบาท  ความขัดเคือง แค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่าง ๆ จิตที่มัวกระทบนั่น กระทบนี่ สะดุดนั่น สะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ
          3. ถีนมิทธะ  ความหดหู่และเชื่องซึมหรือเซ็งและซึม แยกเป็น ถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิต กับมิทะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง อืดอาด มันมัว ตื้อตัน อาการมึน ๆ เฉา ๆ ที่เป็นไปทางกาย จิตที่ถูกอาการทางกายและทางใจอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข้มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้
          4. อุทธัจจกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ แยกเป็็้นอุทธัจจะความมีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบส่วน พร่าพล่านไป กับกุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำครญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบลงได้ จึงไม่เป็นสมาธิ
          5. วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ สงสัยเกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา แคลงใจในกุศลธรรมทั้งหลาย ตัดสินใจไม่ได้ เช่น ธรรมนี้ (สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ )มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงหรือไม่ คิดแยกไปสองทาง กำหนดไม่ลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น