วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทุกข์ในอริยสัจ๔

 ทุกฺข ( สภาพที่ทนได้ยาก )  +  อริยสจฺจ ( ความจริงอย่างประเสริฐ ) ความจริงอย่างประเสริฐคือสภาพที่ทนได้ยาก  หมายถึง  สภาพธรรมที่เกิดดับ  และ ทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์  คือ  จิต  ๘๑  เจตสิก  ๕๑  รูป  ๒๘   ซึ่งเป็นโลกียธรรมทั้งหมด 
          จิต  ๘๑    เจตสิก  ๕๑    รูป  ๒๘    เป็นความจริงอย่างประเสริฐ    เพราะผู้ที่ตรัสรู้ความจริง คือทุกขธรรมเหล่านี้แล้ว     เป็นผู้เข้าถึงความประเสริฐ  คือเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยเจ้า
          อริยสัจธรรมที่ ๑  คือ   ทุกขอริยสัจ  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ก็
ทุกขอริยสัจนี้แล   คือ   ความเกิดก็เป็นทุกข์   ความแก่ก็เป็นทุกข์ความเจ็บก็เป็นทุกข์ 
ความตายก็เป็นทุกข์   ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์   ความพลัดพราก
จากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้  แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์    โดยย่อ 
อุปาทานขันธ์ ๕   เป็นทุกข์
       ดังนั้นทุกขอริยสัจจะ จึงกินความกว้างขวาง ทั้งสภาพธรรมที่เป็นทุกขทุกข์ ที่เป็น
ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิตด้วย ไม่ว่า ทุกข์ คือ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ก็เป็น
ทุกขอริยสัจจะ  สัจจะ.   ความป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู    ปวดฟัน    ความเร่าร้อน
เกิดแต่ราคะ        ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น    ชื่อว่า   ปฏิจฉันนทุกข์(ทุกข์เล็ก
น้อย ปกปิด ต้องถามจึงรู้) เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยครับ  รวมทั้งสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและ
ดับไปด้วยครับก็เป็นทุกขอริยสัจจะ และสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ สภาพธรรมที่มี
จริงในชีวิตประจำวัน     ทั้งรูปภายในและรูปภายนอก รวมทั้งนามธรรมที่เป็นจิต และ
เจตสิกทีเ่กิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็เป็นสภาพธรรมที่ควรกำนหดรู้ เป็นทุกขอริยสัจจะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น