พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า
เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ
พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน
ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ
"พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้
และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า
ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28
พระองค์[1] ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว
ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กรรมในความหมายตามหลักพระพุทธศาสนา
กรรมในความหมายตามหลักพุทธศาสนา
คำว่า “กรรม” แปลว่า การกระทำ
มีความหมายเป็นกลาง ๆ คือ การกระทำ
ยังไม่ถือว่าดีหรือชั่ว
กรรมเป็นกฎแห่งสาเหตุเกี่ยวกับศีลธรรม
คำว่า “การกระทำ” (กรรม)
หมายถึงการกระทำทุกอย่างที่แสดงออกจากตัวเรา เช่น
การแสดงออกทางกาย (กายกรรม)
ทางวาจา (วจีกรรม) และทางใจ
(มโนกรรม)
โดยหลักมูลฐานแล้ว กรรมก็คือ เจตนา
ดังคำนิยามศัพท์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว
วทามิ เจตยิตวา กโรติ
กาเยน วาจาย มนสา” ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกว่า
เจตนาคือกรรม (เป็นตัวกรรม) เมื่อมีเจตนาแล้ว คนเราก็ลงมือกระทำการด้วยกาย วาจา
และด้วยใจ หมายความว่า การกระทำที่จะเป็นกรรมได้นั้น จะต้องมีเจตนา คือ
ความตั้งใจ จงใจ แล้วกระทำการลงไปโดยใช้เครื่องมือ คือ
กาย วาจา และใจ
หลักคำสอนเรื่องกรรม
นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงลักษณะพิเศษของพุทธศาสนา ซึ่งทำให้พุทธศาสนาแตกต่างไปจากลัทธิศาสนาอื่น
ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิศาสนาประเภทเทวนิยมซึ่งคำสอนเรื่องกรรมของลัทธิศาสนาประเภทเทวนิยม
สอนให้คนเรามอบกายถวายชีวิตของตนไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก เช่น
ความเป็นไปของชีวิตจะต้องขึ้นอยู่กับพระเจ้า
พระองค์จะเป็นผู้ลิขิตชีวิตของสรรพสัตว์ให้เป็นไป ที่เรียกกันว่า “พรหมลิขิต” เป็นต้น
แต่พุทธศาสนากลับปฏิเสธอำนาจของสิ่งภายนอกทั้งหมด
แต่สอนให้เชื่ออำนาจของผลกรรมของตนเองว่าเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และเป็นสิ่งจำแนกสรรพสัตว์ให้แตกต่างกัน หรือเรียกกันว่า “กรรมลิขิต”
ความหมายของพระปริตร
พระปริตร คือเครื่องคุ้มครองปกป้องไม่ให้เกิดอุปสรรคอันตราย
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประทานให้แก่พระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งหลาย
เพื่อคุ้มครองป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น อัคคีภัย แผ่นดินไหว สึนามิ
และป้องกันอันตรายภายใน คือ โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
การนับถือพระปริตรเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์มีมาแต่ก่อนพุทธกาล
และมีกล่าวไว้เป็นหลักฐานตั้งแต่สมัยเกิดทุพภิกขภัยและโรคระบาดขึ้นในลังกา ซึ่งภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ร่วมกัน สวดรัตนสูตร ช่วยให้ฝนใหญ่เทลงมา
แล้วทุพภิกขภัยและโรคระบาดก็หายไป จึงอาจเป็นได้ว่า พระเถระในชมพูทวีป
และพระเถระชาวลังกาเลือกคัดพระสูตร พระคาถา และพระพุทธวจนะต่างๆ
มารวมเพื่อใช้บริกรรมหรือภาวนา สำหรับคุ้มครองป้องกันรักษาตัว ส่วนในประเทศไทยนั้น
สันนิษฐานว่า คัมภีร์พระปริตรหรือเจ็ดตำนาณและสิบสองตำนาณนั้น ไทยเราคงจะได้รับมาพร้อมกับรับพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะเมื่อรับพระพุทธศาสนาแบบหินยานลัทธิลังกาวงศ์ เชื่อกันว่าพระปริตรเป็นโอสถวิเศษที่มีสรรพคุณชะงัด
พระปริตรจะมีอานุภาพมากด้วยการสวดและบริกรรม คือ การเปล่งเสียงโดยสัตยาธิษฐาน และฟังด้วยความเลื่อมใส
เพราะเท่ากับเป็นการนำเอาอานุภาพและพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นำเอาสัจจะของพระธรรม และ พระเมตตากรุณาของพระอริยสงฆ์ทั้งปวงให้มาปรากฏแก่ใจ
และให้กำลังใจแก่เราด้วย เมื่อดวงใจประกอบด้วยพระพุทธคุณและสัจธรรม
ทั้งมีความเมตตากรุณาแผ่ออกไปกว้างขวางโดยไม่มีขอบเขตเช่นนั้น
ก็ย่อมจะทรงอานุภาพสามารถเปลี่ยนใจศัตรูให้กลับกลายเป็นมิตร
หรือให้หมดอำนาจไม่อาจทำอันตรายได้ ก่อให้เกิดความปลอดภัย
นิวรณ์ ๕ หมายถึง
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น เครื่องขัดขวาง
สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิต สิ่งที่กีดขวางการทำงานของจิต สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา
สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดีหรืออกุศลธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองและทำปัญญา
ให้อ่อนกำลัง เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
(สนิมใจหรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ธรรม 5 ประการนี้เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด
ทำให้ไร้จักษูุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ
ส่งเสริมความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน นิวรณ์ 5 ได้แก่
1.
กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา ในรูป รส
กลิ่น โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ ติดใจโน่นนี่
ขุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบ ไม่อาจเป็นสมาธิได้
2.
พยาบาท ความขัดเคือง แค้นใจ ได้แก่
ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย
มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ
ไม่พอใจต่าง ๆ จิตที่มัวกระทบนั่น กระทบนี่ สะดุดนั่น สะดุดนี่ เดินไม่เรียบ
ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ
3.
ถีนมิทธะ ความหดหู่และเชื่องซึมหรือเซ็งและซึม
แยกเป็น ถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย
ที่เป็นอาการของจิต กับมิทะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง
อืดอาด มันมัว ตื้อตัน อาการมึน ๆ เฉา ๆ ที่เป็นไปทางกาย จิตที่ถูกอาการทางกายและทางใจอย่างนี้ครอบงำ
ย่อมไม่เข้มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้
4.
อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ
แยกเป็็้นอุทธัจจะความมีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบส่วน พร่าพล่านไป กับกุกกุจจะ
ความวุ่นวายใจ รำครญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ
จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบลงได้
จึงไม่เป็นสมาธิ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ สงสัยเกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์
เกี่ยวกับสิกขา แคลงใจในกุศลธรรมทั้งหลาย ตัดสินใจไม่ได้ เช่น ธรรมนี้
(สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ )มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่
จะได้ผลจริงหรือไม่ คิดแยกไปสองทาง กำหนดไม่ลง
ความหมายของกัมมัฏฐาน
กรรมฐาน เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา
หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร
ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร
คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร
การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์
ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป
หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ
สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการกระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม
การให้ทาน การรักษาศีล แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี
ตามนัยแห่งมูลฎีกาแสดงวินิจฉัยคำ “กรรมฐาน” ไว้ว่า
กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺส ฐานนฺติ กมฺมฐาน
ความหมายของอัตตา
อัตตา, อาตมัน แปลว่า ตัวตน ; โดยปกติแล้วกล่าวได้ว่าโดยสภาวธรรมชาติของปุถุชนอันมีมาแต่การเกิด
ย่อมยึดมั่นมองเห็นชีวิต ซึ่งก็คือขันธ์๕ ว่าขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้งหมด
ว่าเป็นอัตตาคือตัวตนหรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง หรือยึดถือว่าอัตตา(ตัวตน,หรือเป็นของตัวตน)ไปเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังเช่น
ความเชื่อถือความยึดถือในวิญญาณในลักษณาการของเจตภูต ก็คือ
ความเชื่อว่าวิญญาณอันเป็นกองหนึ่งของขันธ์ ๕ เป็นอัตตาหรือเป็นของตัวตน, หรือการเชื่อว่าตัวตนเป็นของตน
ที่มีมาแต่กำเนิดโดยไม่รู้ตัว เหตุเพราะว่า
สามารถบังคับบัญชารูปขันธ์ให้กระทำอะไรก็ได้ดังประสงค์
ดังนั้นจึงแอบหลงเข้าใจไปโดยไม่รู้ตัวว่า
รูปขันธ์จึงย่อมเป็นของตัวของตนหรืออยู่ในอำนาจตน, อนึ่งพึงระลึกเข้าใจด้วยว่า
ความเชื่อ,ความคิดเห็นในเรื่องอัตตาดังนี้
มีทั้งที่เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างรู้ตัวด้วยเข้าใจผิด
และเป็นไปในลักษณะนอนเนื่องอยู่ในจิต
มีความเชื่อหรือทิฏฐินี้อยู่แต่ไม่รู้ตัว
แต่พร้อมที่จะเกิดขึ้นมาหรือพลุ่งพล่านขึ้นมาซึมซาบขึ้นย้อมจิตเมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ
จึงเป็นไปในลักษณะเดียวหรืออันเดียวกับอาสวะกิเลสนั่นเอง
จึงเป็นไปด้วยอวิชชาเช่นกัน คือ เกิดขึ้นและเป็นไปเช่นอาสวะกิเลสด้วยความไม่รู้
และโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
ความสุขในฌาน
ติดสุข
หมายถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในความสุขความสบาย
อันเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ
สุขนี้จึงหมายถึงสุขที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสในข้อ ๕ และยังครอบคลุมถึงอาการเหล่านี้ด้วยคือ ติดปีติ
หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความอิ่มเอิบหรือซาบซ่าน ติดอุเบกขา หมายถึง
ติดเพลินหรือติดใจอยากในความสงบ
หรือติดเอกัคคตารมณ์ หมายถึง
จิตแช่นิ่งคือจิตจดจ่อหรือจดจ้องแช่นิ่งอยู่ภายใน ติดนิมิต คือติดเพลินยึดถือในนิมิตทั้งหลาย
สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นอาการของการไปเสพจนติดใจอยากในผลอันเกิดแต่ฌานหรือสมาธิ จึงเกิดการกระทำทั้งโดยมีสติรู้ตัว
รวมทั้งโดยไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปแม้ในวิถีจิตตื่น(ในชีวิตประจำวัน)อยู่เสมอๆ
คือ การพยายามให้อาการขององค์ฌานสมาธิดังกล่าวคงอยู่ คงเป็น ดังเช่น
อาการกระทำจิตส่งใน
ล้วนเกิดขึ้นเพราะอวิชชาจึงเป็นไปอย่างผิดๆ และปัญหาใหญ่ยิ่งคือผู้ที่เป็นจะไม่รู้ตัว
และเมื่อรู้ตัวก็แก้ไขไม่ได้เสียแล้ว
อาการเหล่านี้ต้องใช้การโยนิโสมนสิการ กล่าวคือ
ใช้ปัญญาพิจารณาโดยละเอียดอย่างแยบคาย หรือย้อนระลึกอดีตจึงจะทราบได้ ทั้งหมดนี้เรียกรวมๆกันว่า ติดสุขบ้าง ติดฌานบ้าง
ติดสมาธิบ้าง
หรือมิจฉาสมาธิบ้าง มิจฉาฌานบ้าง
ดังนั้นฌานสมาธิอันดีงามที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญาญาณ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาฌาน
หรือมิจฉาสมาธิอันให้โทษ
ทุกข์ในอริยสัจ๔
ทุกฺข ( สภาพที่ทนได้ยาก ) +
อริยสจฺจ ( ความจริงอย่างประเสริฐ ) ความจริงอย่างประเสริฐคือสภาพที่ทนได้ยาก หมายถึง
สภาพธรรมที่เกิดดับ และ ทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ คือ
จิต ๘๑ เจตสิก
๕๑ รูป ๒๘
ซึ่งเป็นโลกียธรรมทั้งหมด
จิต ๘๑
เจตสิก ๕๑ รูป
๒๘
เป็นความจริงอย่างประเสริฐ
เพราะผู้ที่ตรัสรู้ความจริง คือทุกขธรรมเหล่านี้แล้ว เป็นผู้เข้าถึงความประเสริฐ คือเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยเจ้า
อริยสัจธรรมที่
๑ คือ
ทุกขอริยสัจ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
ทุกขอริยสัจนี้แล คือ
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์ความเจ็บก็เป็นทุกข์
ความตายก็เป็นทุกข์
ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”
ดังนั้นทุกขอริยสัจจะ จึงกินความกว้างขวาง
ทั้งสภาพธรรมที่เป็นทุกขทุกข์ ที่เป็น
ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิตด้วย
ไม่ว่า ทุกข์ คือ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ก็เป็น
ทุกขอริยสัจจะ สัจจะ.
ความป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู
ปวดฟัน ความเร่าร้อน
เกิดแต่ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น ชื่อว่า
ปฏิจฉันนทุกข์(ทุกข์เล็ก
น้อย ปกปิด ต้องถามจึงรู้)
เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยครับ
รวมทั้งสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและ
ดับไปด้วยครับก็เป็นทุกขอริยสัจจะ
และสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ สภาพธรรมที่มี
จริงในชีวิตประจำวัน ทั้งรูปภายในและรูปภายนอก
รวมทั้งนามธรรมที่เป็นจิต และ
เจตสิกทีเ่กิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็เป็นสภาพธรรมที่ควรกำนหดรู้
เป็นทุกขอริยสัจจะความหมายของศิล
ศีล
(บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา
เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข
เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข
และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม
ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย
วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต
ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์
และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้
ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย
โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย,
ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว,
ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ
และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา"
อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้วย.
ระดับของศีลในทางพระพุทธศาสนา
ศีล
แบ่งเป็น 3 ระดับ คือจุลศีล (ศีลอย่างน้อย) ได้แก่ คหัฏฐศีลทั้ง 2 คือ ศีล5
และอาชีวัฏฐมกศีล มัชฌิมศีล (ศีลอย่างกลาง) ได้แก่ บรรพชาศีลทั้ง 2
คือได้แก่อัฏฐศีล และทสศีล มหาศีล (ศิลอย่างสูง) ได้แก่ อุปสมบททั้ง2 คือ
ภิกษุณีวินัย และภิกษุวินัย
ปัญจศีล (ศีล 5) หรือเรียกว่านิจจศีล
(คือถือเนื่องนิจจ์)
อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลกุศลกรรมบท 10)
หรือเรียกว่าอาทิพรหมจริยาศีล (หรือเรียกอีกอย่างว่า นวศีล)
อัฏฐศีล (ศีล 8)
หรือเรียกว่าอุโบสถศีล (ศีลอุโบสถ)
ทสศีล (ศีล 10)
ภิกษุณีวินัย (ศีล 311)
ภิกษุวินัย (ศีล 227)
ระดับแห่งศีลที่ต่างกัน
เพราะระดับของสัมมาอาชีวะต่างกัน
ญาณ ๑๖
ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ และ วิปัสสนาญาณ
เป็นการรวบรวมลำดับญาณขึ้นในภายหลังโดยพระอรรถกถาจารย์
เพื่อเป็นการจำแนกให้เห็นลำดับญาณหรือภูมิรู้ภูมิธรรมทางปัญญาที่เกิดขึ้น, ในญาณทั้ง๑๖นี้ มีเพียงมรรคญาณ
และผลญาณเท่านั้นที่เป็นญาณขั้นโลกุตระ
คือ เหนือหรือพ้นจากทางโลก จึงหลุดพ้นหรือจางคลายจากทุกข์ตามมรรค,ตามผลนั้นๆ
ส่วนที่เหลือยังจัดเป็นขั้นโลกียะทั้งสิ้น, นักปฏิบัติไม่ต้องปฏิบัติตามเป็นลำดับขั้น
เป็นเพียงแค่การแสดงภูมิญาณในวิปัสสนาญาณต่างๆที่เกิดขึ้นเพียงเท่านั้น เพื่อให้เป็นเพียงเครื่องรู้ เครื่องระลึก
เครื่องเตือนสติ ในการปฏิบัติว่าดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางการวิปัสสนากล่าวคือ
เพื่อพิจารณาการปฏิบัติว่าเป็นไปเพื่อส่งเสริมหรือสั่งสมให้เกิดวิปัสสนาญาณต่างๆเหล่านี้
หรือไม่, อันญาณต่างๆเหล่านี้ล้วนจักเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัยจากความรู้เข้าใจอันแจ่มแจ้งและการปฏิบัติเท่านั้น จึงยังให้เกิดญาณ ที่หมายถึง
การรู้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งตามความเป็นจริงนั้นๆ ด้วยปัญญาจักขุ
ที่หมายถึงปัญญานั่นเอง กล่าวคือ
ไม่เห็นเป็นไปตามความเชื่อหรือความอยากความยึดของตนเอง
แต่เห็นเป็นไปหรือเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่ง(ธรรม)นั้นๆด้วยปัญญา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)